เชื่อว่าสำหรับองค์กรธุรกิจนั้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่จะต้องมีอีกหนึ่งตำแหน่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยอย่างตำแหน่ง “Human Resource” หรือที่เรามักเรียกกันว่า “HR” นั่นเอง
ตำแหน่ง HR คืออะไร?
HR ย่อมาจาก Human Resource หรือที่แปลตรงตัวได้ว่า ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล มองง่ายๆ เมื่อนายจ้างต้องการรับพนักงานสักคนเข้ามาทำงานในบริษัท หากไม่มี HR ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการจัดหาคนเข้ามาทำงานให้กับองค์กรนั้น ทางผู้ประกอบการอาจจะต้องทำการสัมภาษณ์เพื่อรับพนักงานเข้ามาทำงานให้กับองค์กรเอง ซึ่งในบางครั้งอาจจะได้คนที่ไม่ตรงใจจากการขาดประสบการณ์ในการสัมภาษณ์และเทคนิคจิตวิทยาที่ใช้ในการวิเคราะห์ความคิดและประวัติของพนักงานแต่ละคนได้ ทำให้ผู้ประกอบการอาจเสียโอกาสและเสียต้นทุนจากการจ้างคนที่ไม่ตรงกับสายงานหรือการได้รับพนักงานประเภทที่ชอบเปลี่ยนงานบ่อย เป็นต้น
ประเภทของ HR
- Generalist: HR ที่ทำงานด้านทรัพยากรบุคคลได้อย่างหลากหลาย เช่น การสรรหา การจ้างงาน การฝึกอบรบและพัฒนา การคำนวณค่าตอบแทน เป็นต้น
- Specialist: HR ผู้เชี่ยวชาญที่ความเชียวชาญและความรู้เฉพาะทางมากขึ้น ส่วนใหญ่อยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ที่ HR แบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน
ตำแหน่งงาน HR
- HR officer คือ ตำแหน่งงาน HR ทั่วไป ส่วนใหญ่ทำงานในด้านเอกสารหรือการแก้ปัญหาทั่วไป เช่น การทำแผนสวัสดิการ การขาดงาน ค่าจ้าง ทำงานล่วงเวลา หรือเลิกจ้าง เป็นต้น
- Recruitment คือ ตำแหน่งงาน HR ที่ทำหน้าที่คัดเลือกบุคลากรและสรรหาบุคคล เช่น ประกาศรับสมัครพนักงาน นัดหมายสัมภาษณ์งาน สัมภาษณ์งาน แจ้งผลสัมภาษณ์งาน เป็นต้น
- HR Business Partnership คือ ตำแหน่งที่มีความเชี่ยวชาญการบริหารทรัพยากรบุคคล และยังมีความรู้ในด้านการบริหารธุรกิจอีกด้วย และในบางบริษัทเจ้าของจะเป็นคนทำงานตำแหน่งงานนี้ควบคู่กับการบริหารงาน
- Training And Development คือ ตำแหน่งที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาทักษะ และความรู้ของพนักงาน เช่น ฝึกอบพนักงานใหม่ การให้คำปรึกษาพนักงาน เป็นต้น
- HR planning คือ ตำแหน่งที่มีหน้าที่ในการวางแผนทรัพยากรบุคคล ว่าในแต่ละตำแหน่งงานว่าต้องการพนักงานคุณสมบัติแบบไหน จำนวนเท่าไหร่ หรือหรือวางแผนทรัพยากบุคคลเพื่อรองรับแผนธุรกิจในอนาคตข้างหน้า
- Compensation and benefit / Payroll คือ ตำแหน่งที่ทำหน้าที่ในการบริหารค่าตอบแทน และสวัสดิการของพนักงาน
- Labor Relations คือ ตำแหน่งที่ทำหน้าที่ในการจัดการของระเบียบของพนักงาน และดูแลในด้านกฎหมายแรงงาน เช่น กำหนดข้อบังคับของบริษัท บทลงโทษพนักงาน เป็นต้น และดูแลในด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในบริษัท
หรือในบางบริษัท เช่น บริษัทเล็กๆ ที่มีพนักงานไม่มากนัก จะมี HR เพียง 1 คน ที่ทำหน้าที่ในการดูแลจัดการงานด้าน HR ทั้งหมดด้วย ที่จริงหากจะให้แนะนำตำแหน่งงานในด้าน HR จะมีตำแหน่งงานแยกย่อยหรืออาจจะมีชื่อเรียกต่างกันในบางบริษัทด้วย
ความสำคัญของงาน HR
ความยากของ HR นั้น อยู่ที่การจะหาใครสักคนเข้ามาทำงานให้กับเจ้าของบริษัทนั้น ทาง HR จะต้องมีมาตรฐานและสามารถใช้จิตวิทยาองค์กรในการวิเคราะห์บุคคลว่าเหมาะสมกับตำแหน่งงานของทางบริษัทหรือไม่ รวมถึงการคำนวณค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสมที่ทางบริษัทสามารถจัดสรรค์ให้แก่พนักงานอีกได้ด้วย นอกจากนี้ HR ยังต้องแสวงหาความรู้เพื่อทำการพัฒนาบุคลากรในองค์กรอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการจัดอบรมในด้านต่างๆ ให้เหมาะสมแก่พนักงานในองค์กร การให้ความรู้เรื่องภาษี การทำแผนการเสนอผู้บริหารเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรให้สามารถพัฒนาองค์กรให้มีความเติบโตต่อไปได้จากแรงงานของพนักงานเหล่านี้ เรียกได้ว่าการเป็น HR นั้นนอกจากจะต้องมีความรู้ตามสายงานแล้ว ยังต้องมีความรู้มากมายรอบด้านเพื่อปรับใช้กับองค์กรและสามารถพัฒนาบุคลากรเพื่อช่วยขับเคลื่อนองค์การให้มีความทันสมัยและเติบโตต่อไปได้
เรียกได้ว่าผู้ที่มารับตำแหน่ง HR นั้น นอกจากจะต้องมีความสามารถแล้ว ยังต้องสามารถอดทนต่อแรงกดดันในด้านต่างๆทั้งจากผู้บริหารที่ต้องการบุคลากรที่มีความสามารถตรงใจและจากพนักงานที่ต้องการได้รับการดูแลจากบริษัทเป็นอย่างดีอีกด้วย โดยรวมนั้น HR คืออีกหนึ่งตำแหน่งที่เป็นแรงขับเคลื่อนในการช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร รวมถึงบริหารบุคลากรให้สามารถมีความรู้และประสิทธิภาพในการพัฒนาองค์กรต่อไปได้นั่นเอง
ดาวน์โหลด เอกสาร HR ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
เลือกใช้ OneDee วันนี้ ทดลองใช้ฟรี! พร้อมรับประโยชน์มากมายทั้งสำหรับ HR และพนักงาน ด้วยระบบบริหารจัดการทีมงานผ่าน Chatbot ด้วยหน้าจอที่ใช้งานง่าย พนักงานสามารถลงเวลาทำงาน ตอกบัตร ขาดลา ด้วยการส่งข้อความผ่าน Chatbot และสามารถพูดคุยกันภายในแอพผ่านหน้าจอ Chat ช่วยให้ทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น
ติดตามบความอื่นๆ ของ Onedee.ai ได้ที่