วิธีคิดเงินเดือน ฉบับพนักงานรายเดือนและรายวัน ตามกฎหมายแรงงาน

ก.ค. 22, 2022 | OneDee blog

โดยปกติแล้วสำหรับนายจ้างนั้นตามกฏหมายแรงงานจะต้องมีการจ่ายเงินเดือนพนักงานตามสัญญาจ้าง ซึ่งอาจแบ่งพนักงานเป็นสองประเภทคือ พนักงานรายวัน กับ พนักงานรายเดือน โดยสำหรับวิธีคิดการจ่ายเงินให้กับพนักงานตามสัญญาจ้างนั้น จะมี วิธีคิดเงินเดือน ที่ใช้สูตรการคำนวณตามกฏหมายแรงงานเพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลทางสถิติสำหรับการประเมินผลพนักงานเมื่อครบปีได้และจ่ายเงินได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยมีวิธีคิดดังต่อไปนี้

วิธีคิดเงินเดือน พนักงานรายวัน

  • สูตรการคำนวณ: ค่าแรงต่อวัน x (จำนวนวันทำงาน – (ขาด+ลา))
  • ตัวอย่างวิธีคิดเงินเดือนพนักงานรายวัน เช่น ทางบริษัทได้มีการตกลงกันว่าจะจ้าง พนักงาน A ด้วยค่าแรง 300 บาทต่อวัน ซึ่งจะต้องมาทำงานที่บริษัทในเดือนสิงหาคมเป็นเวลา 25 วัน แต่พนักงาน A ได้มีการลาป่วย 2 วัน และขาดงาน 1 วัน ดังนั้นการคำนวนจะเป็น 300 x (25-3) = 6,600 ดังนั้นพนักงาน A จะได้รับค่าแรง 6,600  บาท

วิธีคิดเงินเดือนพนักงานรายวัน จะใช้วิธีคิดแบบตรงไปตรงมาคือจ่ายเงินเฉพาะวันที่พนักงานมาทำงานเท่านั้นโดยรามกับวันลาหรือขาดงานตามกำหนด ซึ่งจากสูตรด้านบนนั้น ทางฝ่ายบุคคลก็สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปสรุปรอบการจ่ายเงินได้อย่างถูกต้องรวมถึงใช้เพื่อประเมินผลการทำงานและตรวจสอบสถิติการลาตามกฏหมายของพนักงานได้

วิธีคิดเงินเดือน พนักงานรายเดือน

สำหรับพนักงานรายเดือนนั้น เป็นประเภทของพนักงานที่เป็นที่นิยมมาก มีการทำสัญญาจ้าง มีความสะดวกในการคิดเงินเดือนรวมถึงรอบการจ่ายเงินเดือนที่มีความตรงไปตรงมาไม่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งวิธีคิดเงินเดือนให้กับพนักงานรายเดือนมักมีการระบุในสัญญาตามตกลงและเป็นการยินยอมทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งมีวิธีคิดโดยใช้วันทำงานเป็น 30 วันและมีการค่าคิดล่วงเวลาตามกฏหมายแรงงานดังนี้

  • สมมติ พนักงาน B ได้เงินเดือน 15,000 บาท โดยเฉลี่ย พนักงาน B จะได้รับเงินเดือนต่อวัน = 15,000/30  เฉลี่ยวันละ 500 บาท ซึ่งตามกฏหมายกำหนดให้พนักงานสามารถหยุดสัปดาห์ละ 1 วัน ดังนั้นใน 1 เดือน พนักงาน B จะสามารหยุดได้ 4 วัน ซึ่งแม้ว่าหยุดก็ยังได้รับเงินเดือนตามค่าจ้างและบริษัทไม่มีสิทธิ์หักเงินในส่วนนี้ 

นอกจากนี้ในบางบริษัทยังมีวิธีคิดค่าล่วงเวลาตามกฏหมายแรงงานอีกด้วยดังนี้

เงินค่าล่วงเวลาต่อวัน (OT)

  • สูตรการคำนวณ: (เงินเดือนหารสามสิบวันหารชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1.5 หรือ 3 เท่า คูณ จำนวนชั่วโมงที่ทำโอที
  • ตัวอย่างวิธีการคำนวณ: กรณี ได้ 1.5 เท่า และทำโอที 4 ชั่วโมง >> (15,000 / 30 /8)*1.5*4
  • หลังจากคำนวณตามสูตรจะได้ค่าทำ OT ในวันนั้นเพิ่มอีก 375 บาท เป็นต้น

โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าวิธีการคิดเงินเดือนสำหรับพนักงานรายวันและรายเดือนนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นควรคิดให้ถูกต้องโดยอ้างอิงจากกฏหมายแรงงานซึ่งใช้เป็นเกณฑ์สำหรับคุ้มครองลูกจ้างและสามารถช่วยให้นายจ้างคิดเรทอัตราการจ่ายเงินเดือนอย่างเป็นธรรมและมีความเหมาะสมเพื่อให้ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

อ่าน วิธีคิด OT กรณีทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ และวันหยุด เต็มๆ ได้ที่

วิธีคิด ot

บทความอื่นๆ

ให้ 365 วันของคุณเป็นวันดี 

บันทึกเวลาเข้า – ออกงาน ของออฟฟิศยุคใหม่ มีวิธีไหนบ้าง ดีกว่าตอกบัตรยังไง

บันทึกเวลาเข้า – ออกงาน ของออฟฟิศยุคใหม่ มีวิธีไหนบ้าง ดีกว่าตอกบัตรยังไง

ทุกวันนี้หลายๆ ออฟฟิศ กลายเป็น New Normal Smart Office ออฟฟิศยุคใหม่ ที่มีเวลาการทำงานที่เปลี่ยนไป เช่น สามารถ Work from home, Work from everywhere,...

อ่านเพิ่มเติม
คอร์สเรียน HR ออนไลน์ฟรี อัปเดต 2565 เรียนฟรี ได้เกียรติบัตร อัปสกิล

คอร์สเรียน HR ออนไลน์ฟรี อัปเดต 2565 เรียนฟรี ได้เกียรติบัตร อัปสกิล

คอร์สเรียน HR ออนไลน์ฟรี - การทำงานต่างๆ ต้องมีการอัปเดตความรู้อย่างสม่ำเสมอ และจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น...

อ่านเพิ่มเติม
PDPA กับงาน HR และข้อปฏิบัติที่ต้องรู้ รวมมาให้แล้วที่นี่!

PDPA กับงาน HR และข้อปฏิบัติที่ต้องรู้ รวมมาให้แล้วที่นี่!

เรียกได้ว่าในช่วงที่ผ่านมานั้นสำหรับองค์กรภาคธุรกิจนั้นต้องได้ยินหรือคุ้นหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อยกับคำว่า “กฎหมาย PDPA”...

อ่านเพิ่มเติม
Share This