การทำงานล่วงเวลา หรือการทำ OT ถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่มนุษย์เงินเดือนหลายๆ คนพบเจออยู่บ่อย แต่เชื่อว่าหลายๆ คนคงยังไม่รู้ว่าการทำงานล่วงเวลานั้นมีวิธีคิดโอที หรือผลตอบแทนที่คุณควรจะได้รับอย่างไร รวมถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ควรรู้ ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ของคุณเอง วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยในเรื่องนี้กัน
วิธีคิด OT กรณีทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ และวันหยุด
หากทำงานล่วงเวลา เกินเวลาเลิกงานตามปกติ เช่น เวลางานปกติกำหนดให้พนักงานทำงานตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. แต่คุณต้องทำงานจนถึงเวลา 20.00 น. จะได้รับค่าล่วงเวลาสำหรับวันทำงานปกติไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงที่คุณได้รับตามปกติ ส่วนวันหยุด เช่น วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็จะได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงที่คุณได้รับตามปกติ โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้
1. วิธีคิดโอที พนักงานรายเดือน
- สูตรการคำนวณ : (เงินเดือนหารสามสิบวัน หารชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1.5 หรือ 3 เท่า คูณ จำนวนชั่วโมงที่ทำโอที
- ตัวอย่างวิธีการคำนวณ : กรณี ได้ 1.5 เท่า และทำโอที 4 ชั่วโมง >> (15,000 / 30 /8)*1.5*4
- หลังจากคำนวณตามสูตรคุณจะได้ค่าทำ OT ในวันนั้นเพิ่มอีก : 375 บาท
2. วิธีคิดโอที พนักงานรายวัน
- สูตรการคำนวณ : (ค่าจ้างต่อวัน หารชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1.5 หรือ 3 เท่า คูณ จำนวนชั่วโมงที่ทำโอที
- ตัวอย่างวิธีการคำนวณ : กรณีได้ 3 เท่า และทำโอที 5 ชั่วโมง >> (300 / 8)*3*5
- หลังจากคำนวณตามสูตรคุณจะได้ค่าทำ OT ในวันนั้นเท่ากับ : 562.5 บาท
วิธีคำนวณ ในกรณีที่ต้องมาทำงานในวันหยุด
1. ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด
เช่น พนักงานรายเดือน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า
- สูตรการคำนวณ : (เงินเดือนหารสามสิบวัน หารชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1 เท่า คูณ จำนวนชั่วโมงการทำงาน
- วิธีการคำนวณ : (15,000 / 30 /8)*1*8
- หลังจากคำนวณตามสูตรคุณจะได้ค่าจ้างในวันนั้นเพิ่มอีก : 500 บาท
2. ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด
เช่น พนักงานรายวัน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า
- สูตรการคำนวณ : (ค่าจ้างต่อวันหารชั่วโมงงานปกติ) คูณ 2 เท่า คูณ จำนวนชั่วโมงการทำงาน
- วิธีการคำนวณ : (350 / 8)*2*8
- หลังจากคำนวณตามสูตรคุณจะได้ค่าจ้างในวันนั้นเท่ากับ : 700 บาท
สิ่งที่ควรรู้ของการทำ OT ตามกฎกระทรวงแรงงาน
ในกรณีที่ต้องทำงานล่วงเวลามากกว่าสองชั่วโมง นายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักอย่างน้อยยี่สิบนาที แต่ถ้าหากเป็นงานที่จำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่องหรืองานฉุกเฉินก็สามารถให้ทำต่อไปได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
เป็นอย่างไรบ้างครับ วิธีคิด OT คำนวณไม่ยากอย่างที่คิดใช่ไหม หวังว่าบทความในวันนี้จะเป็นประโยชน์ เพื่อนำไปใช้เพื่อรักษาผลประโยชน์ในการทำงานของตัวเองกันได้หลังจากนี้
และสำหรับ HR ทุกท่าน นี่จะเป็นครั้งสุดท้าย ที่คุณต้องหาสูตรคำนวณสำหรับงาน HR ของคุณ เพียงโหลด และทดลองใช้แอป OneDee ฟรี! ฟีเจอร์ที่จะช่วยให้ HR และพนักงานทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้นรอคุณอยู่ที่นี่แล้ว
OneDee.ai Everyday app for work ครบจบทุกงาน HR ได้ในแอปเดียว
– ระบบลงเวลาเข้า – ออกของพนักงาน
– โปรแกรมเงินเดือน Payroll Software คำนวณอัตโมมัติ ประหยัดเวลาและทรัพยากร