PDPA กับงาน HR และข้อปฏิบัติที่ต้องรู้ รวมมาให้แล้วที่นี่!

OneDee blog

เรียกได้ว่าในช่วงที่ผ่านมานั้นสำหรับองค์กรภาคธุรกิจนั้นต้องได้ยินหรือคุ้นหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อยกับคำว่า “กฎหมาย PDPA” แล้วรู้หรือไม่ว่าความหมายที่แท้จริงของมันคืออะไร โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่จะต้องรับมือและปรับหลายอย่างให้องค์กรสอดคล้องกับกฎหมายที่ออกมาใหม่นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนกทรัพยากรบุคคล หรือ HR ที่มีข้อมูลและเอกสารสำคัญของพนักงงาน จึงจำเป็นจะต้องรู้ข้อกฎหมาย วันนี้ Onedee.ai เราจะพาไปทำความรู้จักกับ PDPA กับงาน HR และข้อปฏิบัติที่ต้องรู้กัน

PDPA คืออะไร?

ชื่อย่อของมันมาจากคำว่า “Personal Data Protection Act” หรือแปลตรงตัวได้ว่า กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นั่นเอง ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา

ความสำคัญของ PDPA 

เนื่องจาก PDPA นั้นจะเกี่ยวข้องกับการใช้กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลอย่าง พนักงานบริษัทหรือลูกค้า เพื่อทำการให้สิทธิ์ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหากไม่ได้รับการอนุญาตหรือความยินยอมในการนำข้อมูลของเจ้าของข้อมูลดังกล่าวไปใช้ ทางบริษัทหรือผู้ลักลอบนำข้อมูลส่วนบุคคลไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต (Consent) ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฏหมายคุ้มครองนั่นเอง

PDPA กับงาน HR 

สำหรับองค์กรนั้นโดยเฉพาะแผนก HR จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องของ PDPA และระมัดระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากแผนก HR มีความเกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลของพนักงานบริษัทโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอย่าง ชื่อ ที่อยู่ การศึกษา ประวัติการทำงาน ข้อมูลประกันสุขภาพ รวมถึงข้อมูลเงินเดือนของพนักงาน ดังนั้นจึงมีโอกาสสูงมากที่ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานจะถูกทำให้รั่วไหลจากแผนก HR ดังนั้นทางบริษัทจำเป็นที่จะต้องมีการอบรม การให้ความรู้แก่พนักงาน และกำหนดนโยบายเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆตามกฏหมาย PDPA แก่แผนก HR และเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะสามารถป้องกันปัญหาที่อาจตามมาทางด้านกฏหมายในอนาคตได้

ดังนั้น HR หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ทำการรวบรวบเอกสารและข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องได้รับการยินยอมจากพนักงานก่อน ไม่ใช่เพียงเอกสารของพนักงานในองค์กรเท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้สมัครงานและพนักงานเก่าที่ลาออกด้วยเช่นเดียวกัน

“ไม่ใช่แค่เอกสารที่เป็นกระดาษเท่านั้น รวมไปถึง e-Document ด้วย”

ข้อมูลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง 

  • เลขประจำตัวประชาชน
  • ชื่อ-นามสกุล
  • ที่อยู่
  • เบอร์โทรศัพท์
  • อีเมล
  • ข้อมูลทางการเงิน
  • เชื้อชาติ
  • พฤติกรรมทางเพศ
  • ประวัติอาชญากรรม
  • ข้อมูลสุขภาพ
  • และข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถระบุตัวตนของบุคคลได้ทางตรงและทางอ้อม

ข้อมูลและเอกสารสำคัญ ของ PDPA กับงาน HR 

  • Resume, Portfolio, CV
  • ใบสมัครงาน
  • ผลการประเมินช่วงทดลองงานและระหว่างปฏิบัติงาน
  • สลิปเงินเดือน
  • ข้อมูลของผู้สมัครเกี่ยวกับพฤติกรรม ประวัติทางวินัย
  • หนังสือเลิกจ้าง
  • สัญญาจ้าง
  • การเข้า – ออกงาน การลางาน ขาดงาน มาสาย
  • ประวัติครอบครัวและบุคคลที่เกี่ยวข้อง

วิธีแจ้ง HR Privacy Policy ให้พนักงานทราบ

  • ส่งอีเมลหาพนักงาน
  • ปิดประกาศ HR Privacy Policy ในบริษัท ในตำแหน่งที่พนักงานทุกคนเห็นได้ชัด
  • รวมไว้เป็นส่วนหนึ่งในสัญญาจ้างงาน

บทลงโทษของกฎหมาย PDPA 

  • โทษทางอาญา: จำคุกสูงสุดไม่เกิน 6 เดือนถึง 1 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 500,000 ถึง 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • โทษทางแพ่ง: ค่าสินไหมทดแทน และศาลสามรถสั่งลงโทษเพิ่มได้ อีกไม่เกิน 2 เท่า ของค่าสินไหม
  • โทษทางปกครอง: ปรับไม่เกิน 3 – 5 ล้านบาท

สามารถอ่านกฎหมาย PDPA ฉบับเต็มได้ที่: https://bit.ly/2MjRWc1

ในยุคปัจจุบันนี้ก็มีบริษัทที่รับให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่าง PDPA มากมาย โดยมีทั้งผู้เชี่ยวชาญในด้านกฏหมายและการใช้ Solution ทางด้าน IT เพื่อใช้สำหรับการจัดตั้งนโยบายการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล การจัดการกับข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของแต่ละบุคคล (Sensitive Data) การจัดตั้งแผนกเจ้าหน้าคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงมีการบังคับใช้กฏระเบียบด้านข้อมูลต่างๆ ในบริษัทของพนักงานตามที่นโยบายกำหนด เพื่อป้องกันการละเมิดข้อกฏหมาย PDPA ที่มีผลบังคับใช้ ดั้งนั้น HR ยุคใหม่ ต้องเตรียมพร้อมและรู้ข้อกฎหมายอย่างละเอียด เพื่อใช้ในการทำงาน

PDPA กับงาน HR

บทความอื่นๆ

อัปเดต ค่าลดหย่อนภาษี 2566 มนุษย์เงินเดือนเช็คให้ดีก่อนยื่น!

อัปเดต ค่าลดหย่อนภาษี 2566 มนุษย์เงินเดือนเช็คให้ดีก่อนยื่น!

ใกล้สิ้นปีแบบนี้เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนหลายๆ คนคงมีคำถามเป็นเสียงเดียวกันว่า ใกล้จะต้องจ่ายภาษีแล้ว “สามารถลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง?”...

อ่านเพิ่มเติม
Share This